2016-04-24

ศิลาอารยะ Civil Stone

2016-02-09 10:17
ไทย : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อุดรธานี
Thailand : Phu Phra Bat Historical Park, Udonthani


































‘โมอาย’ ผมนึกถึงกองหินประวัติศาสตร์บนเกาะอีสเตอร์ ระหว่างหลบแดดอยู่ในเงาของหอนางอุสา

ใช่ กองหินที่อยู่กันคนละมุมโลกแทบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย แต่ทั้งคู่บ่งบอกถึงการดัดแปลงสิ่งของธรรมชาติเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์

แม้จะชื่อหอนางอุสา เรื่องราวของความรักที่ไม่สมหวังตามตำนานท้องถิ่น แต่ความจริงหินก้อนนี้คือศาสนสถานที่แสดงถึงความเชื่อ อารยธรรม และความเป็นชุมชนของผู้คนแถบนี้

‘Moai’ It reminded me of the historical rocks on Easter Island when I was sheltered in the shade of Hor Nang Usa.

Yes, both rocks are in different parts of the world and absolutely unrelated. But both imply a modification of natural objects to satisfy human needs.

Despite its name means ‘Lady Usa’s Room’ according to the folklore unrequited love story, in fact it was a religious shrine representing the faith and civilization.

2016-04-15

ทรงพลัง Powerful

2016-04-10   09.11
ไทย : วัดมุจลินทวาปีวิหาร ปัตตานี
Thailand : Mujalintawapeeviharn Temple, Pattani


































โพขี้นกที่ขึ้นแทรกหลังคาสุขาในวัดต้นนี้ รากชอนไขจนแผงอิฐที่ก่อไว้แยก บ่งบอกถึงพลังของสิ่งเล็กๆ ที่ถูกมองข้าม และอาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่ในอนาคต และพลังของความเชื่อ

มีความเชื่อว่า เป็นบาปที่จะริดถอนต้นโพธิ์พวกนี้ทิ้ง แต่ในอรรถกถา ได้กล่าวถึงวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ของการกระทำเป็นสำคัญ หากทำไปเพื่อรักษาอาคารไว้ ก็พึงกระทำ

This bird-poop Bo tree growing on the toilet roof in the temple ground has its roots penetrate the brick layers making them separated. The power of small abandoned things which may lead to big trouble in the future, and also the power of beliefs.

Many believe that "Thou Shalt not cut this Tree!". But in the Atthakatha, the commentaries to the Buddhist Canon, it was written clearly that the purpose of the action is important. If you do, it ought to be done to maintain the building.

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต อัฏฐานบาลี วรรคที่ ๑

ถามว่า เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว คนเหล่าใดทำลายพระเจดีย์ ตัดต้นโพธิ์ เหยียบย่ำพระธาตุ กรรมอะไรจะมีแก่บุคคลเหล่านั้น. 
   
ตอบว่า กรรมนั้นเป็นกรรมหนักเช่นเดียวกับอนันตริยกรรม. แต่กิ่งโพธิ์ที่เบียดสถูปหรือพระปฏิมาที่มีพระธาตุ (บรรจุ) จะตัดเสียก็ควร. แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้น ถ่ายอุจจาระรดพระเจดีย์ ก็ควรตัดเสีย เพราะพระเจดีย์บรรจุพระสรีรธาตุ สำคัญกว่าบริโภคเจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริโภค. จะตัดรากโพธิ์ที่ไปทำลายเจดีย์วัตถุออกไปเสียก็ควร. แต่กิ่งโพธิ์ที่เบียดเรือนโพธิ์ จะตัดกิ่งโพธิ์เพื่อจะรักษาเรือนโพธิ์ไม่ได้. เพราะเรือนโพธิ์มีไว้เพื่อประโยชน์แก่ต้นโพธิ์ (แต่) ต้นโพธิ์หามีไว้เพื่อประโยชน์แก่เรือนโพธิ์ไม่. 
แม้ในเรือนเก็บอาสนะ (พระแท่น) ก็นัยนี้เหมือนกัน. จะตัดกิ่งโพธิ์เพื่อรักษาเรือนอาสนะ (พระแท่น) ที่เขาบรรจุพระธาตุก็ควร. เพื่อบำรุงต้นโพธิ์ จะตัดกิ่งที่แย่งโอชะ (คืออาหาร) หรือกิ่งผุเสีย ก็ควรเหมือนกัน. 
   แม้บุญก็มีเหมือนดังปรนนิบัติพระสรีระพระพุทธเจ้าฉะนั้น

2016-04-08

ภาระ Burden

2015-04-18   14:07
เมียนมา : เจดีย์มีง์กูง์ มีง์กูง์
Myanmar : Mingun Pahtodawgyi, Mingun



































ตอนผมเดินลงจากยอดฐานเจดีย์มีง์กูง์ หนุ่มน้อยตัวนิดเดียวคนนี้เดินเท้าเปล่าสวนทางขึ้นมา มีลังเบียร์ยี่ห้อดังชื่อเหมือนประเทศแบกไว้บนบ่า ท่าทางหนักไม่ใช่เล่น แต่ใบหน้าเขาเปื้อนยิ้ม

อนาคตของชาติ หนุ่มสาวเหล่านี้ยิ้มสู้งาน และ อนาคตของเมียนมา ก็อยู่บนบ่าของพวกเขา

When I was walking down the ruined base of Mingun Pahtodawgyi, this little boy walked up barefooted with a box of famous beer on his shoulder, the brand with the country name. Heavy loaded, but smile was on his face.

The future of Myanmar is really on their shoulders, these energetic young bloods.

2016-04-01

วัดไทย จีนสร้าง ลายฝรั่ง Western-style Chinese-Built Thai Temple

2012-01-24   16:31
ไทย : วัดเกตการาม เชียงใหม่
Thailand : Ketkaram Temple, Chiangmai


































เห็นชาวต่างชาติมาเที่ยวมาอยู่เชียงใหม่มากขึ้น รู้สึกเป็นห่วงว่าวัฒนธรรมคนเมืองจะเจือจางไปกับกระแสโลก แต่พอได้มาเห็นอาคารโรงเรียนนักธรรมหลังนี้ ได้เห็นตุ๊กตากามเทพฝรั่งแบบลอยตัว กลมกลืนอยู่กับลวดลายเครือเถาพรรณบุปผา ประดับประตูหน้าต่างปิดทองอย่างลงตัว ผมถึงคิดขึ้นได้ว่า เชียงใหม่เป็นนานาชาติมาตั้งนานแล้ว

อาคารไม้หลังนี้สร้างโดยจีนอินทร์และนางจีบ สามีภรรยาใน พ.ศ.​ 2462

When I saw more and more foreigners visited and stayed in Chiangmai, I used to worry that Lanna culture may be diluted or contaminated. But when I saw these round-relief Cupids with the intertwined sprays and gold lacquer works decorated on doors and windows at this Dharma School building. I realised that Chiangmai has been a multi-cultural city since its past.

This wooden building was built by Mr. In, a Chinese merchant and Mrs. Jeeb, his wife, in 1919 A.D.